24 กรกฎาคม 2554

การใช้สารชีวภาพในการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยล์

Picture take from : ar.wikipedia.org/wiki/%D9%85%D9%84%D9%81:Symptoms_of_SLE.svg


เนื่องจากอาการสำคัญอย่างหนึ่งของ SLE คือการปวดข้อแบบรูมาตอยด์ ดังนั้น จึงของนำชื่อยาที่ใช้ในการรักษา รูมาตอยด์โดยใช้สารชีวภาพมาลงในบล็อคนี้ไว้ด้วย

ที่มาของข้อมูล :  สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย


ปัจจุบันมีการนำยาในกลุ่ม biologic agents มาใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis, RA) เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ 


โดยเฉพาะในรายที่ไม่ตอบสนองหรือ ตอบสนองไม่เพียงพอต่อการรักษาด้วยยามาตรฐานที่มีคุณสมบัติปรับเปลี่ยนการดำเนินโรค (disease modifying antirheumatic drugs, DMARDs) 


โดยยาในกลุ่ม biologic agents ที่ได้รับการขึ้น ทะเบียนจากคณะกรรมการอาหารและยาของประเทศไทยในปัจจุบันมีอยู่ 4 ขนาน คือ 


ยาในกลุ่ม tumor necrosis factor inhibitor ซึ่งได้แก่ etanercept (ETA) และ infliximab (IFX) 


etanercept




infliximab


ยาที่ออกฤทธิ์เป็น interleukin 6 receptor antagonist ได้แก่ tocilizumab (TCZ) 


tocilizumab






และยาในกลุ่ม anti-CD20 ได้แก่ rituximab (RTX) 


rituximab 




จากข้อมูลการศึกษาในต่างประเทศยอมรับว่ายากลุ่มนี้มีประสิทธิภาพดีและคุ้มค่า ในการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ 


การรักษาด้วยยากลุ่มนี้มีค่าใช้จ่ายสูงมากและ จำเป็นต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่องในระยะยาว 





11 พฤษภาคม 2554

ยาที่ใช้ในการรักษา SLE : Methotrexate

 Methotrexate (MTX)


ข้อมูลในบล็อคนี้นำมาจาก
1.thairheumatology.org
2.drug.psu.ac.th 
3.healthy.in.th

ชื่อยาทั่วไป ( Generic Name) : Methotrexate
ชื่อการค้า ( Trade Name)      : Methotrexate
ขนาดยาที่มีใช้                        : 50 mg/2ml ,  50 mg/5ml, 1000 mg/10ml
การเก็บรักษายาก่อนผสม ( Storage)  :เก็บที่อุณหภูมิห้อง
ความเข้มข้นของยา ( Concentration) : 10 mg./ml , 100 mg./ml, 25mg./ml
สารละลายสำหรับผสมเจือจางยา ( Solution For Dilution) : D5W, NSS

ความเข้มข้นสุดท้ายของยาที่ผสม ( Final Concentration) :   
ในกรณีฉีด Intrathecal  ความเข้มข้น                
ไม่ควรเกิน 5 mg/ml ในผู้ป่วยเด็กและMaximum dose ไม่ควรเกิน 12 mg .


การเก็บรักษายาที่ผสมแล้ว : 24 ชั่วโมงที่อุณหภูมิห้อง

ข้อควรระวัง :  ในกรณีฉีด Intrathecal  ห้ามใช้ยาที่มี Preservative และไม่ควรเตรียมยาไว้นานเกิน 24 ชั่วโมง


Methotrexate เป็นยาชนิดหนึ่งในกลุ่มยาที่ใช้ในการรักษาโรค Rheumatoid arthritis ที่เรียกว่า DMARDs (Disease Modifying Antirheumatic Drugs)
 
และ methotrexate มีข้อบ่งใช้ในการรักษาโรคมะเร็งชนิดต่างๆ ด้วยคุณสมบัติที่เป็น cytotoxic agent 

สำหรับการนำมาใช้รักษา Rheumatoid arthritis(อาการของ SLE ก็คืออาการปวดข้อเช่นกัน)
 
เมื่อเทียบกับการใช้รักษาโรคมะเร็ง ขนาดยาที่ใช้ในการรักษา Rheumatoid arthritis นั้นจะเป็นขนาดต่ำคือไม่เกิน 20 mg/week เนื่องจากการใช้ยาในขนาดสูงกว่านั้นมีโอกาสทำให้เกิดการกดไขกระดูกได้ 

โดยการเริ่มต้นการรักษาด้วย methotrexate จะเป็นในลักษณะ single test dose ขนาด 5-15 mg/dose เพื่อดูความไวต่ออาการไม่พึงประสงค์ของยาต่อผู้ป่วย 

สำหรับการให้ยาในขนาดเริ่มต้นสามารถให้เป็น 7.5 mg สัปดาห์ละครั้ง หรือแบ่งให้ครั้งละ 2.5 mg q 12 hr สัปดาห์ละ 3 วัน1 ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของผู้ป่วยแต่ละคน 

หลังจากนั้นสามารถปรับขนาดยาเพิ่มขึ้นทุก 4-8 สัปดาห์จนมีการตอบสนองต่อการรักษาที่เหมาะสม2 ซึ่งมักจะเริ่มขึ้นหลังใช้ยาไปประมาณ 3-6 สัปดาห์

มีการศึกษาการเกิดพิษต่อตับในการรักษา Rheumatoid arthritis ด้วยยา methotrexate ในขนาดต่ำของ de Lavallade H และคณะ (2006)
ซึ่งหาความสัมพันธ์ระหว่างวันที่ได้รับยาและขนาดยาที่ได้รับต่อสัปดาห์กับการทำงานของตับจากผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจากโรงพยาบาล 

โดยเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ อายุ เพศ การดื่มแอลกอฮอล์ ระยะเวลาที่ได้รับยา (ผู้ป่วยที่เข้าร่วมการวิจัยแต่ละคนมีระยะเวลาการใช้ยาอยู่ในช่วง 3 - 218 สัปดาห์) 

ขนาดยาที่ได้รับทั้งหมดตั้งแต่เริ่มใช้ยา ขนาดยาสูงสุดที่ได้รับต่อสัปดาห์ (ขนาดยาที่ได้รับทั้งหมดตั้งแต่เริ่มใช้ยาของผู้ป่วยที่เข้าร่วมการวิจัยแต่ละคนอยู่ในช่วงประมาณ 80-2000 mg ) และวิธีการบริหารยา liver function test 

พบว่าระยะเวลาในการใช้ยาที่นานขึ้นและขนาดยาที่ได้รับทั้งหมดตั้งแต่เริ่มใช้ยามากขึ้นมีแนวโน้มทำให้เกิดความเป็นพิษต่อตับเพิ่มขึ้นตามลำดับแต่ไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ 

Methotrexate เป็นยารักษามะเร็งในกลุ่ม Antifolates ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการทำงานเอ็นไซม์ dihydrofolate reductase ซึ่งเป็นเอ็นไซม์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการ metabolism ของเซลล์ในคนทั้งเซลล์ปรกติและเซลล์มะเร็ง


ภาพแสดงกระบวนการออกฤทธิ์ของ Methotrexate

Picture from : nature.com



ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่ได้รับยา

1. ผลต่อระบบเลือด (Hematologic effects) ทำให้เม็ดเลือดขาวต่ำ (leucopenia)  
 เกร็ดเลือดต่ำ (thrombocytopenia) ซีด (anemia)  
เลือดออกตามอวัยวะต่างๆ (hemorrhage from various sites)

2. ระบบทางเดินอาหาร (GI effects) ทำให้มีผลต่อเยื่อบุทางเดินอาหาร เช่น 
เหงือกอักเสบ(gingivitis) ลิ้นอักเสบ (glossitis) คอหอยอักเสบ(pharyngitis) ลำไส้อักเสบ (enteritis) แผลเปื่อย (ulceration) และเลือดออกทั้งที่ปากและทางเดินอาหาร 
 นอกจากนี้ยังมีอาการ ปวดท้อง เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน อาเจียนเป็นเลือด ท้องเสีย ถ่ายเป็นเลือด และอาจพบตับอ่อนอักเสบ

3. ผลต่อตับ (hepatic effects) ทำให้มีผลเป็นพิษต่อเซลล์ตับทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง ทำให้ระดับเอ็นไซม์ aminotransferase สูงขึ้นหลังได้รับยา 1-3 วัน ในระยะยาวจะทำให้เกิด hepatic fibrosis หรือ cirrhosis หรือการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพอื่นๆของตับ

4. ผลต่อปอด (Pulmonary effects) ทำให้ปอดอักเสบ (pneumonitis) และ pulmonary fibrosis ซึ่งอาการทางคลินิกอื่นๆจะแตกต่างกันไปแต่โดยทั่วๆไปจะมีอาการ ไข้ ไอ การหายใจลำบาก (dyspnea) และเจ็บหน้าอก (chest pain)

5. อาการอื่นๆ เช่น ปวดศีรษะ มึนงง blurred vision, eye discomfort, conjunctivitis การมองเห็นเปลี่ยนไป หูอื้อ (tinnitus) ไม่สบายกาย (malaise) อ่อนเพลีย (undue fatigue)และ เวียนศีรษะ



คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่รับยาเคมีบำบัด ( Methotrexate เป็นยาเคมีบำบัด)

ภาพจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ 


เพื่อให้การรักษาเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและปลอดภัยผู้ป่วยควรปฏิบัติดังนี้
1. พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ ในที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก

2. ไม่ควรวิตกกังวลมากเกินไป ทำใจให้เข้มแข็งรู้จักระบายความเครียดด้วยการพูดคุยกับญาติมิตร ใช้ศาสนาเป็นที่พึ่งทำงานอดิเรก เช่น อ่านหนังสือ, ฟังเพลง, ดูทีวีหรือภาพยนตร์เป็นต้น

3. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และครบหมู่ทั้ง เนื้อ, นม, ไข่, ผัก, ผลไม้, ข้าว, น้ำตาล, เกลือแร่และวิตามิน

4. ดื่มน้ำมากๆ เพราะผู้ป่วยได้รับยา Methotrexate ซึ่งยาจะถูกขับออกทางไตเป็นหลัก

5. ไม่ควรสูบบุหรี่, ดื่มเหล้าและสิ่งเสพติดต่างๆ

6. ถ้ามีโรคประจำตัว หรือกินยาอื่นๆอยู่หรือเคยแพ้ยาอะไร ควรแจ้งให้แพทย์ที่จะให้ยาเคมีบำบัดทราบด้วยเสมอ

7. ไม่ควรซื้อยากินเองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาลดไข้แก้ปวด ก็ไม่ควรใช้ยาแอสไพริน เพราะถ้าเกร็ดเลือดต่ำ จะทำให้เลือดออกตามอวัยวะต่างๆ และหยุดยาก ควรใช้พาราเซตามอลจะปลอดภัยกว่า

8. หลีกเลี่ยงจากของแหลมหรือมีคมต่างๆ ที่จะทำให้เกิดบาดแผลได้

9. ก่อนทำฟันจะต้องปรึกษาแพทย์ที่ให้ยาเคมีบำบัดก่อนเสมอ

10. หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคติดต่ออื่นๆ เช่น หวัด, วัณโรค, โรคติดเชื้ออื่นๆ

11. ในระหว่างที่รับยาหากมีอาการดังต่อไปนี้ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ
ไข้สูงกว่า 38 0c
หนาวสั่น
มีจ้ำเลือดตามตัวหรือเลือดออกที่อวัยวะใดๆในร่างกาย
หายใจไม่สะดวก
ท้องผูกหรือท้องเสีย
คลื่นไส้ อาเจียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีอาการติดต่อกันนานเกิน 72 ชั่วโมง
ปัสสาวะแสบ ขัด หรือ ปวดเวลาปัสสาวะ
มีเลือดออกมากับปัสสาวะ หรือ อุจจาระ
เจ็บปวดบริเวณที่ฉีดยา
มีความสงสัยใดๆเกี่ยวกับการรักษา

12. ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

13. ไปรับการตรวจและรักษาตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ

ผู้ป่วยน่าจะได้รับคำแนะนำเช่นนี้มาจากโรงพยาบาลที่เริ่มให้การรักษาแล้วแต่ก็ควรเน้นย้ำเพิ่มเติม

เนื่องจากยา Methotrexate เป็นยาที่ขับออกทางไตเป็นหลักจึงต้องมีการติดตามการทำงานของไต (creatinine) อยู่เสมอ นอกจากนี้ยายังสามารถจับกับ albumin ได้ดี 

หากผู้ป่วยมี serum albumin ต่ำ จะทำให้มี ปริมาณของ Methotrexate ที่ออกฤทธิ์ได้เพิ่มขึ้น อาจมีผลให้เกิดผลข้างเคียงได้เยอะขึ้น ดังนั้นจึงต้องมีการตรวจระดับ serum albumin เป็นระยะๆเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย 

- ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องรักษาด้วย Methotrexate (MTX) ควรมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ และให้ความร่วมมือ

- ไม่ควรใช้ MTX ในผู้ป่วยที่มีโรคตับ โรคไต ดื่มสุราจัด หรือเมื่อตรวจทางห้องปฏิบัติการพบความผิดปกติของตับ, ไต หรือเม็ดเลือด

- ผู้ป่วยหญิงต้องไม่ตั้งครรภ์ในระหว่างรักษาด้วยยา MTX และถ้าผู้ป่วยชายต้องการมีบุตรจะต้องหยุดยา 3 เดือน

- ในระหว่างได้รับยา MTX ต้องเฝ้าระวังการติดเชื้อโรค

- ผู้สูงอายุที่ได้รับ MTX จะต้องใช้ยาต่างๆ อย่างระมัดระวัง (ผู้ป่วยอาจมีโรคหลายโรค) เพราะมียาหลายชนิดที่อาจทำให้ระดับยา MTX สูงขึ้นหรือลดลง นอกจากนี้ผู้สูงอายุยังมีการทำงานของไตเสื่อมลงตามวัย ทำให้เกิดพิษจาก MTX ได้ง่าย

- การใช้ยา MTX อาจเกิดผลข้างเคียงตั้งแต่ครั้งแรกก็ได้ ควรเริ่มให้ยาในขนาดต่ำๆ ก่อน (5-10 มก.) เมื่อครบ 1 สัปดาห์ให้ตรวจทางห้องปฏิบัติการซ้ำ 

เพราะผลข้างเคียง MTX อาจเป็นแบบไม่สัมพันธ์กับขนาดยา (idiosyncrasy) ถ้าผลทดสอบปกติจึงให้ยาต่อ และควรตรวจทางห้องปฏิบัติการซ้ำทุก 1-2 เดือน ในต่างประเทศถ้าผู้ป่วยรับประทานยาติดต่อเป็นเวลานานจะแนะนำให้เจาะดูดเนื้อตับมาตรวจเมื่อได้รับยาสะสม 1.5 กรัม และทุกๆ 1-1.5 กรัมที่เพิ่มขึ้น

- การให้ยามี 2 แบบ ได้แก่ แบ่งรับประทาน 3 ครั้ง ห่างกัน 12 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือกินสัปดาห์ละ 1 ครั้งในขนาดยา 15-25 มก. ถ้าใช้ถึง 25 มก. ต่อสัปดาห์แล้วอาการยังไม่ดีขึ้นควรหยุด MTX และใช้ยาอื่นแทน

ผลข้างเคียงเพิ่มเติม

1. หลังรับประทาน MTX ผู้ป่วยอาจมีอาการไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ การเกิดพิษจาก MTX จะไม่มีความสัมพันธ์กับระดับยา หรือระดับกรดโฟลิกในเลือด

2. ระบบทางเดินอาหาร
- การใช้ยาในขนาดสูงทำให้คลื่นไส้ อาเจียน บางรายมีแผลในช่องปากซึ่งพบหลังได้รับยา 3-5 วัน (การเกิดแผลในช่องปากจะไม่สัมพันธ์กับระดับยาในเลือด) แผลในช่องปากนี้มักเป็นอาการนำของการเกิดพิษจากยา และถ้าขนาดยาสูงมากอาจพบแผลบริเวณรอยผื่นผิวหนัง

- ตับอักเสบ ผู้ป่วยบางรายไม่มีแสดงอาการและตรวจก็ไม่พบความผิดปกติของการทำงานของตับ (มีการอักเสบของตับเรื้อรังแฝง และกลายเป็นโรคตับแข็งตามมา) การวินิจฉัยจึงต้องเจาะดูดเนื้อตับมาตรวจทางพยาธิวิทยาเท่านั้น

3. กดการทำงานของไขกระดูก ควรตรวจหาระดับเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด เป็นระยะ ผู้ป่วยบางรายมีการเปลี่ยนแปลงของไขกระดูกแม้จะใช้ยาในขนาดต่ำ 

จึงต้องระมัดระวังในระยะเริ่มให้ยาครั้งแรก โดยทั่วไปยา MTX จะกดการสร้างเม็ดเลือดขาว ทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดขาวน้อยเกิน (neutropenia) ใน 10 วัน เมื่อหยุดยาระดับเม็ดเลือดขาวจะกลับปกติภายใน 14-21 วัน

4. ผลต่อไต เนื่องจากยา MTX ถูกขับออกทางไต ถ้าการทำงานของไตลดลงจากการเจ็บป่วยหรือผู้ป่วยสูงอายุหรือได้รับยาซึ่งลดการทำงานของไต (เช่น NSAIDs) หรือยาที่แย่งจับกับแอลบูมินจะทำให้ระดับยา MTX ในเลือดสูงขึ้นจนเกิดพิษได้ พบว่าเมแทบอไลต์ของ MTX คือ 7-OH MTX จะตกผลึกในไตทำให้ไตทำงานลดลง

5. ทำให้เกิดการแท้งบุตรได้ ถ้าได้รับยาในระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ดังนั้นผู้ป่วยหญิงจะต้องคุมกำเนิดในระหว่างรักษาด้วยยา MTX ส่วนในผู้ป่วยเพศชายต้องหยุดยาก่อน 3 เดือนเมื่อต้องการมีบุตร

6. ผลต่อปอด มีรายงานว่าทำให้เกิดผังผืดในปอดหลังได้รับ MTX รักษาเพื่อโรคสะเก็ดเงิน

7. การติดเชื้อฉวยโอกาส แต่มีรายงานน้อย

8. มะเร็ง “MTX ไม่ทำให้เกิดกลายพันธุ์ (mutation) หรือมะเร็ง (carcinogenesis) เพิ่มขึ้นเพราะพบว่าการรักษา choriocarcinoma ด้วย MTX ไม่พบว่าเกิดมะเร็งซ้ำซ้อนเพิ่มขึ้น


Methotrexate 

                มีทั้งรูปแบบรับประทานและรูปแบบฉีด อาหารมีผลต่อการดูดซึม โดยจะลดการดูดซึมของ Methotrexate 

กลไกการออกฤทธิ์ยังไม่แน่ชัด สันนิษฐานว่าออกฤทธิ์กดภูมิคุ้มกัน หรือโดยการลดการอักเสบโดยตรง หรือทั้งสองกลไก การใช้ยาระยะสั้นจะได้ผลดีและรวดเร็ว 


ผลข้างเคียงเพิ่มเติมที่เกิดจากยา

ที่พบบ่อยคือ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องเสีย (อาการเหล่านี้จะดีขึ้นเอง ไม่ต้องใช้ยา) Stomatitis (อาจต้องลดขนาดยาลง) อาการทางระบบเลือดและผมร่วง

การบริหารยาจะให้สัปดาห์ละ1 ครั้ง แพทย์บางท่านอาจจะให้ จันทร์ พุธ ศุกร์ แต่จะไม่ให้ติดต่อกันทุกวัน 

เพราะพบผลข้างเคียงมากกว่า แพทย์หลายท่านจะให้ ยา folic ซึ่งเป็นวิตามินตัวหนึ่งร่วมด้วยเพื่อลดผลข้างเคียงของยาตัวนี้ ขนาดของการใช้มักจะใช้ ประมาณ 2- 6 เม็ด 

อาจจะมากหรือน้อยกว่านี้ขึ้นกับความรุนแรงของโรคและประสบการณ์ของแพทย์ผู้รักษาแต่ละคน โดยทั่วไปพบผลข้างเคียงน้อย แต่เนื่องจากเป็นยาอันตราย จึงต้องอยู่ในการดูแลรักษาโดยแพทย์ โดยเฉพาะแพทย์ที่ชำนาญการ

สำหรับยาที่จะนำมาใช้แทน methotrexate ก็มี แต่มีราคาแพงมากได้แก่ leflunomide(อยู่นอกบัญชียาแห่งชาติ) sulfazalasine ฯ แต่ประสิทธิภาพจะไม่เหนือกว่า methotrexate

ในกรณีที่โรครุนแรงมาก และไม่สามารถคุมโรคได้ดี แพทย์มักจะเลือกให้ยาผสมผสานกัน หรือถ้ายังคุมโรคได้ไม่ดีก็อาจจะต้องพิจารณา ยารักษาชนิดฉีด (ยาสังเคราะห์จากขบวนการทางชีววิทยา) ซึ่งมีราคาแพงมาก


ข้อพึงระวังในการใช้ยา


ควรติดตามผลการรักษาเป็นระยะ โดยมาตรวจตามแพทย์นัด ให้ยาตามแผนการรักษา การได้ยาไม่ครบ หรือระยะเวลาไม่ตรงกำหนด ก่อให้เกิดผลเสียต่อการรักษา ถ้ามีเหตุจำเป็นต้องเลื่อนระยะเวลาการให้ยา ควรแจ้งแพทย์ก่อนทุกครั้ง
  • ยาคลอแรมบิวซิล (chlorambucil) มีผลต่อไขกระดูกทำให้มีการสร้างเม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด และเม็ดเลือดแดงลดลง ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย หรือภาวะเลือดออกง่าย
  • ควรหลีกเลี่ยงการพบปะกับคนที่เป็นหวัด หัด สุกใส วัณโรค มีไข้ หรือติดเชื้ออื่น ๆ หากมีอาการผิดปกติ ได้แก่ ไข้สูง หนาวสั่น ปัสสาวะแสบขัด เจ็บคอ ท้องร่วง เหนื่อยหอบผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์ และแจ้งแพทย์ทุกครั้งว่าท่านกำลังรักษาด้วยยาเคมีบำบัดอยู่
  • ระหว่างที่ได้รับการรักษาด้วยยาคลอแรมบิวซิล (chlorambucil) ท่านไม่ควรได้รับวัคซีนใด ๆ โดยไม่ได้แจ้งแพทย์ เนื่องจากยาทำให้ภูมิคุ้มกันของท่านลดลง และมีโอกาสติดเชื้อจากวัคซีนที่ท่านได้รับ นอกจากนี้บุคคลที่ท่านอาศัยอยู่ด้วยก็ไม่ควรได้รับวัคซีนโปลิโอ เพราะอาจทำให้ท่านได้รับเชื้อไวรัสโปลิโอได้
  • ควรพบแพทย์ทันทีถ้าท่านมีเลือดออกผิดปกติ ปัสสาวะหรืออุจจาระเป็นเลือด ควรระมัดระวังการใช้ไหมขัดฟัน หรือไม้จิ้มฟัน และแจ้งทันตแพทย์ทุกครั้งว่าใช้ยานี้อยู่
  • มะเร็งอื่นๆ (second malignancies) อาจเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาคลอแรมบิวซิล (chlorambucil) เดี่ยวๆ หรือร่วมกับยาต้านมะเร็งชนิดอื่น โดยส่วนมากมักเกิดระบบการสร้างเม็ดเลือด เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ และมักพบในผู้ป่วยที่ได้รับยาเพื่อรักษามะเร็งของเม็ดเลือดหรือโรคทางภูมิคุ้มกันอื่นๆ ที่ใช้ยาในระยะยาว โดยอาจเกิดหลังจากหยุดยาไปแล้วหลายปีก็ได้
  • ยาคลอแรมบิวซิล (chlorambucil) รบกวนการสร้างไข่ (oogenesis) และการสร้างอสุจิ (spermatogenesis) จึงทำให้เกิดภาวะเป็นหมันได้ทั้งเพศชายและเพศหญิงที่ใช้ยา โดยขึ้นอยู่กับขนาดยา ,ระยะเวลาที่ใช้ยา และภาวะการทำงานของต่อมเพศในขณะที่ได้รับยา และยาคลอแรมบิวซิล มักทำให้เกิดภาวะไม่มีประจำเดือนในช่วงที่ใช้และยาหลังจากที่หยุดยาแล้วก็อาจทำให้มีบุตรยากหรือเป็นหมันถาวร
  • มีรายงานการเกิดผื่นผิวหนังจากการใช้ยาที่ดำเนินไปกลายเป็นอาการทางผิวหนังรุนแรงขึ้น เช่น ลักษณะผิวหนังแดงหลายรูป (erythema multiforme), การตายแยกสลายของหนังกำพร้า (toxic epidermal necrolysis) และกลุ่มอาการสตีเวนส์จอห์นสัน (Stevens-Johnson syndrome) หากเกิดอาการทางผิวหนังควรรีบแจ้งให้แพทย์ทราบทันที
  • การได้รับยาในขนาดสูงอาจกระตุ้นให้เกิดการชักได้

การเตรียมยาเคมีบำบัด

ข้อความที่นำเสนอในบทความเรื่องนี้ เนื่องจากพบว่า ผู้ป่วย SLE ต้องใช้ยาหลายชนิดที่เป็นยาเคมีบำบัดในการรักษา 

จึงอยากจะนำเสนอแนวทางการเตรียมยาเคมีบำบัดที่ต้องทำอย่างระมัดระวังของเภสัชกรผู้เตรียมยา
เพื่อให้ผู้รับยาเพื่อทำการรักษาได้รับรู้ถึงความตั้งใจ และอาจนำมาซึ่งความร่วมมือที่ดีขึ้นของผู้เข้ารับการรักษา และได้รับข้อมูลบางส่วนเพื่อเป็นความรู้เพิ่มเติมด้วยค่ะ

บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมยาเคมีบำบัด การฉีดหรือการบริหารยาและการกำจัดภาชนะอุปกรณ์ที่บรรจุ จะต้องระมัดระวังป้องกันไม่ให้สัมผัสหรือได้รับยาสู่ร่างกาย เพราะยาเคมีบำบัดอาจมีผลดังนี้

1. อันตรายกับผิวหนัง ตาและ mucous membrane ได้ถ้าสัมผัสโดยตรง

2. ก่อให้เกิดความผิดปกติของเซลล์ (mutagenic) ความผิดปกติของลูก(Teratogenic) และอาจทำให้เป็นมะเร็ง (carcinogenic) ได้ ถ้าได้รับสะสมไปนานๆ ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์หรืออายุน้อยกว่า 18 ปี ไม่ควรเตรียมยาเคมีบำบัด

หลักการปฏิบัติ

1. สถานที่ในการเตรียมยา
การเตรียมยาควรเตรียมในที่ปลอดภัย เช่น Laminar-air-flow hood หรือตู้เตรียมยาที่มี
แผ่นใส หรือกระจกกั้นและมีเครื่องดูดผ่านเครื่องกรองอากาศ  
  โดยบนพื้นที่เตรียมยาจะต้องปูด้วยกระดาษซับที่รองด้วยแผ่นพลาสติกเพื่อเก็บทิ้งได้สะดวก



2. เครื่องแต่งกาย
ผู้เตรียมยาจะต้องใส่ Protective clothing ดังนี้

2.1 เสื้อคลุม (Working coat) ต้องเป็นเสื้อกาวน์ยาวและมีคุณสมบัติไม่ดูดซับน้ำ ปลายแขนเสื้อต้องมีลักษณะเป็นยางยืดรัดข้อมือ ควรเปลี่ยนทุกครั้งที่เตรียมหรือเปลี่ยนทันทีที่มีการปนเปื้อน หรือหลังการทำความสะอาดยาเคมีบำบัดที่ตกแตก

2.2 ถุงมือ (Disposable gloves) ควรใช้เป็น surgical latex glove ความหนาประมาณ 7-9 mm หรือถุงมือที่มีคุณสมบัติป้องกันได้เท่ากันหรือดีกว่า ควรเปลี่ยนทันทีที่มีการปนเปื้อน ฉีกขาด หรือมีรอยรั่ว

2.3 แว่น (Safety goggles) หน้ากาก (Protective face mask)


3. การเตรียมยา
3.1 ใช้เทคนิคไร้เชื้อ (Aseptic technique)

3.2 ใช้ Syringe และ Injection Sets ที่ล็อคได้

3.3 เวลาหัก Ampule ของยาควรหุ้มด้วย Sterile gauze และให้อยู่ห่างจากใบหน้าและตัวมากที่สุด

3.4 หลีกเลี่ยงการทำให้เกิด Overpressure หรือ Underpressure ขณะดูดยาจาก Vial โดยการฉีดอากาศเข้าไปเท่ากับปริมาณยาที่ต้องการดูดออกมา และขณะดึงเข็มออกจากจุกยางควรใช้ Sterile gauze หุ้มบริเวณจุกยางไว้ป้องกันละอองยาฟุ้งกระจาย

3.5 การไล่อากาศหรือยาส่วนเกินออกจาก Syringe ควรหุ้มปลายเข็มด้วย Sterile gauze เพื่อป้องกันละอองยาหรือไม่ให้ยาหกถูกผู้ฉีดหรือเตรียมยา

3.6 ยาเคมีบำบัดที่หกตามที่ต่างๆควรเช็ดออกด้วยกระดาษซับ และทำความสะอาดด้วยสบู่และน้ำ แล้วจึงเช็ดด้วย 70% alcohol อีกครั้ง

3.7 เลือกใช้เข็มที่มีปลอกพลาสติกหุ้ม (Angiocatheter) ขนาดเล็ก



4. การกำจัดอุปกรณ์และภาชนะบรรจุยาที่ใช้แล้ว (Waste disposal) 

การกำจัดอุปกรณ์และภาชนะบรรจุยาที่ใช้แล้วจะต้องเก็บให้มิดชิด ไม่ให้มีไอระเหย 

เช่น ใส่ถุงพลาสติกรัดปากถุงให้แน่น จะต้องไม่ถอดเข็มออกจาก Syringe และควรสวมปลอกเข็มไว้ให้เรียบร้อย ป้องกันเข็มแทงทะลุถุง หรือการบาดเจ็บต่อผู้กำจัดขยะ 

การทำลายยาคววรเผาด้วยความร้อน 8000c-10000c หรือนำไปทิ้งในบ่อกำจัดขยะอันตรายซึ่งเป็นบ่อที่มิดชิด ไม่ทำให้สารพิษปนเปื้อนออกสู่ธรรมชาติ ผู้ตอบแนะนำว่าอาจใส่กระป๋องพลาสติก เช่นกระป๋องยาแล้วปิดฝาให้แน่นก่อนการนำไปกำจัดจะปลอดภัยกว่า และที่โรงพยาบาลก็น่าจะหากระป๋องได้ไม่ยาก

วิธีปฏิบัติเมื่อยาเคมีบำบัดหก หยดหรือแตก
อุปกรณ์ที่ใช้
ผ้าปิดจมูก 1 อัน                
น้ำยาทำความสะอาดพื้น
เสื้อคลุม 1 ชุด    
น้ำ 1000 cc     
หมวกคลุมผม 1 ใบ          
NSS irrigate 240 cc
ถุงมือ 2 คู่           
กระป๋องพลาสติก
แว่นตา 1 อัน      
ไม้กวาดและที่โกยผง 1 ชุด
ผ้าสำหรับทำความสะอาด 3 ผืน     
ถุงขยะสีแดง 2 ใบ
เชือกหรือยาสำหรับผูกปากถุงขยะ   
            
ควรจะจัดทำเป็นชุดใส่กล่องไว้เพื่อความสะดวก รวดเร็วเมื่อต้องใช้งาน


ขั้นตอนการปฏิบัติ
1. ผู้ทำความสะอาดจะต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันให้เรียบร้อย

2. ใช้ผ้าสำหรับทำความสะอาดซับน้ำยาที่หก หากเป็นยาผงให้ใช้ผ้าชุบน้ำค่อยๆวางลงบนผงยาอย่างระวังอย่าให้ผงยาฟุ้งกระจายและระวังเศษแก้ว

3. ใช้ไม้กวาดและที่โกยผง โกยเศษแก้วและเศษผ้าเทลงในกระป๋องพลาสติก แล้วทิ้งกระป๋องพลาสติกลงในถุงขยะแดง

4. ใช้ผ้าสำหรับทำความสะอาดชุบน้ำและน้ำยาทำความสะอาด เช็ดทำความสะอาดซ้ำจนมั่นใจว่าไม่มียาเคมีบำบัดตกค้างอยู่ ทิ้งเศษผ้าลงในถุงขยะสีแดง

5. ใช้ผ้าสำหรับทำความสะอาดเช็ดบริเวณปนเปื้อนให้แห้งเพื่อป้องกันการลื่นหกล้ม ทิ้งผ้าเปื้อนที่ใช้เช็ดทำความสะอาดลงในถุงขยะสีแดง

6. ถอดถุงมือคู่นอกออกทิ้งลงในถุงขยะสีแดง

7. นำถุงขยะสีแดงใบแรกใส่ในถุงขยะสีแดงใบที่

8. ถอดเสื้อคลุม หน้ากาก แว่นตา หมวกคลุมผม และถุงมือชั้นในออกทิ้งลงถุงขยะสีแดง ปิดปากถุงให้เรียบร้อย 

9. นำถุงขยะไปกำจัด