11 พฤษภาคม 2554

การเตรียมยาเคมีบำบัด

ข้อความที่นำเสนอในบทความเรื่องนี้ เนื่องจากพบว่า ผู้ป่วย SLE ต้องใช้ยาหลายชนิดที่เป็นยาเคมีบำบัดในการรักษา 

จึงอยากจะนำเสนอแนวทางการเตรียมยาเคมีบำบัดที่ต้องทำอย่างระมัดระวังของเภสัชกรผู้เตรียมยา
เพื่อให้ผู้รับยาเพื่อทำการรักษาได้รับรู้ถึงความตั้งใจ และอาจนำมาซึ่งความร่วมมือที่ดีขึ้นของผู้เข้ารับการรักษา และได้รับข้อมูลบางส่วนเพื่อเป็นความรู้เพิ่มเติมด้วยค่ะ

บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมยาเคมีบำบัด การฉีดหรือการบริหารยาและการกำจัดภาชนะอุปกรณ์ที่บรรจุ จะต้องระมัดระวังป้องกันไม่ให้สัมผัสหรือได้รับยาสู่ร่างกาย เพราะยาเคมีบำบัดอาจมีผลดังนี้

1. อันตรายกับผิวหนัง ตาและ mucous membrane ได้ถ้าสัมผัสโดยตรง

2. ก่อให้เกิดความผิดปกติของเซลล์ (mutagenic) ความผิดปกติของลูก(Teratogenic) และอาจทำให้เป็นมะเร็ง (carcinogenic) ได้ ถ้าได้รับสะสมไปนานๆ ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์หรืออายุน้อยกว่า 18 ปี ไม่ควรเตรียมยาเคมีบำบัด

หลักการปฏิบัติ

1. สถานที่ในการเตรียมยา
การเตรียมยาควรเตรียมในที่ปลอดภัย เช่น Laminar-air-flow hood หรือตู้เตรียมยาที่มี
แผ่นใส หรือกระจกกั้นและมีเครื่องดูดผ่านเครื่องกรองอากาศ  
  โดยบนพื้นที่เตรียมยาจะต้องปูด้วยกระดาษซับที่รองด้วยแผ่นพลาสติกเพื่อเก็บทิ้งได้สะดวก



2. เครื่องแต่งกาย
ผู้เตรียมยาจะต้องใส่ Protective clothing ดังนี้

2.1 เสื้อคลุม (Working coat) ต้องเป็นเสื้อกาวน์ยาวและมีคุณสมบัติไม่ดูดซับน้ำ ปลายแขนเสื้อต้องมีลักษณะเป็นยางยืดรัดข้อมือ ควรเปลี่ยนทุกครั้งที่เตรียมหรือเปลี่ยนทันทีที่มีการปนเปื้อน หรือหลังการทำความสะอาดยาเคมีบำบัดที่ตกแตก

2.2 ถุงมือ (Disposable gloves) ควรใช้เป็น surgical latex glove ความหนาประมาณ 7-9 mm หรือถุงมือที่มีคุณสมบัติป้องกันได้เท่ากันหรือดีกว่า ควรเปลี่ยนทันทีที่มีการปนเปื้อน ฉีกขาด หรือมีรอยรั่ว

2.3 แว่น (Safety goggles) หน้ากาก (Protective face mask)


3. การเตรียมยา
3.1 ใช้เทคนิคไร้เชื้อ (Aseptic technique)

3.2 ใช้ Syringe และ Injection Sets ที่ล็อคได้

3.3 เวลาหัก Ampule ของยาควรหุ้มด้วย Sterile gauze และให้อยู่ห่างจากใบหน้าและตัวมากที่สุด

3.4 หลีกเลี่ยงการทำให้เกิด Overpressure หรือ Underpressure ขณะดูดยาจาก Vial โดยการฉีดอากาศเข้าไปเท่ากับปริมาณยาที่ต้องการดูดออกมา และขณะดึงเข็มออกจากจุกยางควรใช้ Sterile gauze หุ้มบริเวณจุกยางไว้ป้องกันละอองยาฟุ้งกระจาย

3.5 การไล่อากาศหรือยาส่วนเกินออกจาก Syringe ควรหุ้มปลายเข็มด้วย Sterile gauze เพื่อป้องกันละอองยาหรือไม่ให้ยาหกถูกผู้ฉีดหรือเตรียมยา

3.6 ยาเคมีบำบัดที่หกตามที่ต่างๆควรเช็ดออกด้วยกระดาษซับ และทำความสะอาดด้วยสบู่และน้ำ แล้วจึงเช็ดด้วย 70% alcohol อีกครั้ง

3.7 เลือกใช้เข็มที่มีปลอกพลาสติกหุ้ม (Angiocatheter) ขนาดเล็ก



4. การกำจัดอุปกรณ์และภาชนะบรรจุยาที่ใช้แล้ว (Waste disposal) 

การกำจัดอุปกรณ์และภาชนะบรรจุยาที่ใช้แล้วจะต้องเก็บให้มิดชิด ไม่ให้มีไอระเหย 

เช่น ใส่ถุงพลาสติกรัดปากถุงให้แน่น จะต้องไม่ถอดเข็มออกจาก Syringe และควรสวมปลอกเข็มไว้ให้เรียบร้อย ป้องกันเข็มแทงทะลุถุง หรือการบาดเจ็บต่อผู้กำจัดขยะ 

การทำลายยาคววรเผาด้วยความร้อน 8000c-10000c หรือนำไปทิ้งในบ่อกำจัดขยะอันตรายซึ่งเป็นบ่อที่มิดชิด ไม่ทำให้สารพิษปนเปื้อนออกสู่ธรรมชาติ ผู้ตอบแนะนำว่าอาจใส่กระป๋องพลาสติก เช่นกระป๋องยาแล้วปิดฝาให้แน่นก่อนการนำไปกำจัดจะปลอดภัยกว่า และที่โรงพยาบาลก็น่าจะหากระป๋องได้ไม่ยาก

วิธีปฏิบัติเมื่อยาเคมีบำบัดหก หยดหรือแตก
อุปกรณ์ที่ใช้
ผ้าปิดจมูก 1 อัน                
น้ำยาทำความสะอาดพื้น
เสื้อคลุม 1 ชุด    
น้ำ 1000 cc     
หมวกคลุมผม 1 ใบ          
NSS irrigate 240 cc
ถุงมือ 2 คู่           
กระป๋องพลาสติก
แว่นตา 1 อัน      
ไม้กวาดและที่โกยผง 1 ชุด
ผ้าสำหรับทำความสะอาด 3 ผืน     
ถุงขยะสีแดง 2 ใบ
เชือกหรือยาสำหรับผูกปากถุงขยะ   
            
ควรจะจัดทำเป็นชุดใส่กล่องไว้เพื่อความสะดวก รวดเร็วเมื่อต้องใช้งาน


ขั้นตอนการปฏิบัติ
1. ผู้ทำความสะอาดจะต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันให้เรียบร้อย

2. ใช้ผ้าสำหรับทำความสะอาดซับน้ำยาที่หก หากเป็นยาผงให้ใช้ผ้าชุบน้ำค่อยๆวางลงบนผงยาอย่างระวังอย่าให้ผงยาฟุ้งกระจายและระวังเศษแก้ว

3. ใช้ไม้กวาดและที่โกยผง โกยเศษแก้วและเศษผ้าเทลงในกระป๋องพลาสติก แล้วทิ้งกระป๋องพลาสติกลงในถุงขยะแดง

4. ใช้ผ้าสำหรับทำความสะอาดชุบน้ำและน้ำยาทำความสะอาด เช็ดทำความสะอาดซ้ำจนมั่นใจว่าไม่มียาเคมีบำบัดตกค้างอยู่ ทิ้งเศษผ้าลงในถุงขยะสีแดง

5. ใช้ผ้าสำหรับทำความสะอาดเช็ดบริเวณปนเปื้อนให้แห้งเพื่อป้องกันการลื่นหกล้ม ทิ้งผ้าเปื้อนที่ใช้เช็ดทำความสะอาดลงในถุงขยะสีแดง

6. ถอดถุงมือคู่นอกออกทิ้งลงในถุงขยะสีแดง

7. นำถุงขยะสีแดงใบแรกใส่ในถุงขยะสีแดงใบที่

8. ถอดเสื้อคลุม หน้ากาก แว่นตา หมวกคลุมผม และถุงมือชั้นในออกทิ้งลงถุงขยะสีแดง ปิดปากถุงให้เรียบร้อย 

9. นำถุงขยะไปกำจัด