Systemic lupus erythematosus (SLE)
โรค SLE เป็นโรคออโตอิมมูนที่เกิดจากการสร้างภูมิต้านทานต่อเนื้อเยื่อของตนเอง ทําให้เกิดพยาธิ
สภาพของระบบต่าง ๆ ได้ทั่วร่างกาย พบว่ามีหลายปัจจัยที่มีส่วนในกระบวนการเกิดโรค ได้แก่
1. เพศ พันธุกรรม และเชื้อชาติ
- เพศหญิงเป็น SLE มากกว่าเพศชาย และพบว่าฮอร์โมนเพศมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรค ผู้ป่วยที่มี estrogen และ prolactin สูงกว่าปกติ และ testosterone ต่ำกว่าปกติ ส่งผลต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ระบบมีการตอบสนองเพิ่มมากขึ้น
- ระบบพันธุกรรม ผู้ที่เป็นญาติของผู้ป่วยที่เป็น SLE มีความเสี่ยงในการเป็น SLE 8 เท่า ของคนปกติและพบว่า antinuclear antibody และ antilymphocyte antibody ในญาติผู้ป่วยสูงกว่าคนทั่วไป
- เชื้อชาติพบอุบัติการณ์การเกิด SLE ในชาวแอฟริกัน-อเมริกันมากกว่าชาวผิวขาวซึ่งเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับ ยีน HLA เพราะพบว่าชาวแอฟริกัน-อเมริกันมี HLA-DR3 จำนวนมาก
2. สิ่งแวดล้อม ที่เกี่ยวข้องได้แก่
- รังสีอัลตราไวโอเลต มีบทบาทกระตุ้นโรคทำให้มีการกำเริบของโรคหลังได้รับการกระทบรังสีหรือแสงแดด
- การติดเชื้อจะกระตุ้น lymphocyte monocyte
- ยาหลายชนิดสามารถกระตุ้นให้เกิด SLE ได้แก่ hydralazine procainamide isoniazid เป็นต้น
3. ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
การที่ระบบภูมิคุ้มกันมีผลต่อการตอบสนองต่อ antigen ของตัวเอง ทำให้มีการสร้าง antibody ที่ก่อโรคจำนวนมาก ซึ่งส่วนหนึ่งจะไปจับกับ antigen ของตัวเองเกิดเป็น immune เชิงซ้อน ไปเกาะตามอวัยวะต่างๆทำให้เกิดกระบวนการอักเสบและทำลายเนื้อเยื่อตามมา
เอกสารอ้างอิง
1. วิทยา ศรีมาดา.Evidence-base clinical practice guideline. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
2. วิลาสินี หิรัญพานิช, ปวิตรา พูลบุตร, อธิกา จารุโชติกมล, จันทร์ทิพย์ กาญจนศิลป์.เภสัชวิทยา2. มหาสารคาม: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2547.
3. สุรศักดิ์ นิลกานุวงศ์, สุรวุฒิ ปรีชานนท์.ตำราโรคข้อ เล่มที่หนึ่ง.พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพมหานคร: เอส พี เอ็น การพิมพ์ จำกัด, 2544
4. Lacy CF, Armstrong LL, Goldman MP, Lance LL. Drug information handbook. 13thed. Ohio : Lexi-Comp Inc; 2005.
All picture take in this blog take from any url in the website with in every pictures link.
Search Engine Submission - AddMe