การดูแลและรักษาผู้ป่วยโรค SLE
การรักษาอาจแบ่งตามความรุนแรงของโรคออกได้เป็น 3 ระดับ คือ
1. อาการน้อย
ได้แก่ผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรงและไม่เป็นอุปสรรคต่อการดําเนินชีวิตมากนัก เช่น มีอาการทางผิวหนัง ผื่นที่หน้า ผมร่วง ผื่น discoid แผลในปาก อาการปวดข้อหรือข้ออักเสบและกล้ามเนื้อ การรักษาคือ
1.1 ให้ยาต้านมาลาเรีย (antimalarial) คือ chloroquine ขนาด 250 mg/day หรือhydroxychloroquine ขนาด 200-400 mg/day จนอาการดีขึ้นจึงค่อย ๆ ลดยาลงและให้คงยาไว้ในขนาดตํ่า (maintenance dose) เพื่อควบคุมโรคให้อยู่ในระยะสงบ
1.2 ให้ยาในกลุ่มNSAIDsร่วมด้วยในกรณีมีอาการปวดข้อและกล้ามเนื้อหรือข้ออักเสบ
1.3 ให้ corticosteroid ครีมทาร่วมด้วยในกรณีมีผื่นผิวหนัง
1.4 ในรายที่รักษาแล้วอาการดีขึ้นไม่มากพอ ให้ยา prednisolone ขนาดตํ่า รับประทาน(<15 mg/day) ร่วมด้วย เมื่อควบคุมอาการได้แล้วควรลดขนาดยาลงช้า ๆ เช่น 2.5-5 mg ทุก2-4 สัปดาห์ จนหยุดเหลือขนาดตํ่าสุดที่คุมอาการได้
2. อาการปานกลาง
ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีไข้ นํ้าหนักลด serositis มีผื่นผิวหนังแบบ leukocytoclastic vasculitis, bulla หรือ acute cutaneous rash ซึ่งเป็นมาก ควรเริ่มให้การรักษาด้วยยา antimalarial ร่วมกับรับประทาน prednisolone ขนาด 20-30 mg/day และอาจให้ร่วมกับยากดภูมิคุ้มกัน เช่น methotrexate, azathioprine, cyclophosphamide เพื่อช่วยควบคุมโรคในระยะยาวและช่วยให้การลดcorticosteroid ทําได้ง่ายขึ้น
3. อาการรุนแรง
ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีอาการแสดงของอวัยวะสําคัญภายใน เช่น อาการทางสมองและเส้นประสาท ไตอักเสบ (proteinuria > 1 g/day) กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ immune hemolytic anemia หรือเกร็ดเลือดตํ่ามาก (< 50,000/mm3)
อาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น หลอดเลือดแดง mesentericอักเสบ
ตับอ่อนอักเสบ และปอดอักเสบ (lupus pneumonitis) หรือ pulmonary hemorrhage
ผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรให้การรักษาด้วย corticosteroid ในขนาดสูงเทียบเท่า prednisolone1- 2 mg/kg/day รับประทานหรือฉีดเข้าหลอดเลือดดํา (ในกรณีอาการรุนแรงมากหรือรับประทานยาไม่ได้) โดยแบ่งให้วันละ 3- 4 ครั้ง เป็นเวลา 2- 4 สัปดาห์ แล้วลดขนาดยาลงเมื่ออาการดีขึ้นพอสมควร โดยลดขนาดยาประมาณ 5 -10 mg/wks เมื่อถึงขนาด 30 mg/day ควรลดขนาดยาช้าลง เช่น 2.5 - 5 mg/wks และเมื่อยาเหลือ 15 mg/day ควรลดยาช้ามาก ๆ เช่น 5 mg ต่อเดือนและควรพิจารณาให้ยากดภูมิคุ้มกันร่วมกับ corticosteroid ในทันที
ิ เพื่อช่วยให้ควบคุมโรคได้เร็วขึ้นช่วยให้ลดขนาดของ corticosteroid ได้เร็วขึ้น และลดการกำเริบของโรค โดยให้รับประทานหรือฉีดเข้าหลอดเลือดดํา ยากดภูมิคุ้มกันที่ควรใช้ในกรณีนี้ได้แก่ azathioprine, cyclophosphamide หรือ chlorambucil
เมื่ออาการของโรคดีขึ้นแล้ว ให้พิจารณาลดขนาดของยากดภูมิคุ้มกันลงด้วยจนเหลือในขนาดที่ปลอดภัย และให้ในขนาดตํ่าต่อไปเพื่อให้โรคสงบนานที่สุด (อย่างน้อย 1 ปี) เพื่อลดโอกาสการกําเริบของโรค
การรักษาด้วยวิธีอื่น
ในกรณีที่โรคมีอาการรุนแรงมาก และไม่ตอบสนองต่อการรักษาข้างต้น อาจพิจารณาใช้การรักษาต่อไปนี้ในสถานที่ที่สามารถให้การรักษาได้ (หรือพิจารณาส่งต่อผู้ป่วย หากให้การรักษาไม่ได้)
1. Pulse methylprednisolone คือการให้ยา methylprednisolone ขนาด 1 กรัมหยดเข้าทางหลอดเลือดในเวลา 1ชั่วโมง วันละครั้งติดต่อกันเป็นเวลา 3-5 วัน
2. Intravenous pulse cyclophosphamide คือการให้ cyclophosphamide ขนาดสูงทางหลอดเลือดดําเป็นครั้งๆ วิธีการให้ยาคือให้ในขนาด 0.5 -1.0 g/m2 หยดเข้าทางหลอดเลือดดําช้า ๆ (2 -3 ชม.) เดือนละครั้ง ประมาณ 6 ครั้ง หรือจนควบคุมโรคได้ดี หลังจากนั้นฉีดห่างออกไปเป็นทุก 3 เดือน ต่อเนื่องไปอีก 12- 24 เดือน จึงพิจารณาหยุดยา
เอกสารอ้างอิง
1. วิทยา ศรีมาดา.Evidence-base clinical practice guideline. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
2. วิลาสินี หิรัญพานิช, ปวิตรา พูลบุตร, อธิกา จารุโชติกมล, จันทร์ทิพย์ กาญจนศิลป์.เภสัชวิทยา2. มหาสารคาม: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2547.
3. สุรศักดิ์ นิลกานุวงศ์, สุรวุฒิ ปรีชานนท์.ตำราโรคข้อ เล่มที่หนึ่ง.พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพมหานคร: เอส พี เอ็น การพิมพ์ จำกัด, 2544
4. Lacy CF, Armstrong LL, Goldman MP, Lance LL. Drug information handbook. 13thed. Ohio : Lexi-Comp Inc; 2005.
All picture take in this blog take from any url in the website with in every pictures link.