24 กรกฎาคม 2554

การใช้สารชีวภาพในการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยล์

Picture take from : ar.wikipedia.org/wiki/%D9%85%D9%84%D9%81:Symptoms_of_SLE.svg


เนื่องจากอาการสำคัญอย่างหนึ่งของ SLE คือการปวดข้อแบบรูมาตอยด์ ดังนั้น จึงของนำชื่อยาที่ใช้ในการรักษา รูมาตอยด์โดยใช้สารชีวภาพมาลงในบล็อคนี้ไว้ด้วย

ที่มาของข้อมูล :  สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย


ปัจจุบันมีการนำยาในกลุ่ม biologic agents มาใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis, RA) เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ 


โดยเฉพาะในรายที่ไม่ตอบสนองหรือ ตอบสนองไม่เพียงพอต่อการรักษาด้วยยามาตรฐานที่มีคุณสมบัติปรับเปลี่ยนการดำเนินโรค (disease modifying antirheumatic drugs, DMARDs) 


โดยยาในกลุ่ม biologic agents ที่ได้รับการขึ้น ทะเบียนจากคณะกรรมการอาหารและยาของประเทศไทยในปัจจุบันมีอยู่ 4 ขนาน คือ 


ยาในกลุ่ม tumor necrosis factor inhibitor ซึ่งได้แก่ etanercept (ETA) และ infliximab (IFX) 


etanercept




infliximab


ยาที่ออกฤทธิ์เป็น interleukin 6 receptor antagonist ได้แก่ tocilizumab (TCZ) 


tocilizumab






และยาในกลุ่ม anti-CD20 ได้แก่ rituximab (RTX) 


rituximab 




จากข้อมูลการศึกษาในต่างประเทศยอมรับว่ายากลุ่มนี้มีประสิทธิภาพดีและคุ้มค่า ในการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ 


การรักษาด้วยยากลุ่มนี้มีค่าใช้จ่ายสูงมากและ จำเป็นต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่องในระยะยาว