การแพ้ยา
เมื่อคุณรับประทานยาแล้วเกิดผื่น หรือแน่นหน้าอก แสดงว่าคุณอาจจะมีอาการแพ้ยา แต่การเกิดผลข้างเคียงจากยามิใช่หมายความว่าแพ้ยาเสมอไป อาจจะเกิดจากสาเหตุอื่นก็ได้
และผู้ป่วยก็ยังสามารถรับยานั้นได้ แต่ถ้าหากเกิดจากแพ้ยาผู้ป่วยต้องหลีกเลี่ยงยาที่แพ้โดยเด็ดขาด
การแพ้ยาหมายถึงเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้มักจะเกิดอาการหลังรับประทานยา ทันทีหรือไม่เกิน 2 ชั่วโมงอาการที่สำคัญได้แก่
ผื่นคัน
คัดจมูก
หายใจไม่ออก หายใจเสี่ยงดังหวีด
บวมแขนขา
การที่จะทราบแน่ชัดต้องทำการทดสอบภูมิแพ้ หลังจากที่ทราบชื่อยาที่แพ้แล้วก็จดชื่อยาที่แพ้ไว้กับตัว หรืออาจจะทำป้ายติดไว้กับตัว
การรักษาที่ดีที่สุดคือการหลีกเลี่ยงจากยาชนิดนั้นโดยเด็ดขาด ก่อนที่แพทย์จะจ่ายยาต้องบอกแพทย์ทุกครั้งว่าแพ้ยาอะไร
ก่อนรับยาจากเภสัชกรต้องถามชื่อยาและบอกว่าแพ้ยาอะไรแก่เภสัชกรเนื่องจากยาชนิดเดียวกันอาจจะมีหลายชื่อ ผลเสียที่เกิดจากยาอาจจะเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น
Overdose or toxicity ได้รับยาเกินขนาด เช่นการได้ยาปฏิชีวนะรักษาโรคติดเชื้อหากได้ติดต่อกันนานๆอาจจะมีผื่นเกิดขึ้น
Secondary effects ผลข้างเคียงจากฤทธิ์ของยา เช่นเร่รับประทาน aspirin เพื่อแก้ปวดแต่เกิดเลือดออกง่าย เลือดออกง่ายเป็นผลจากยา aspirin
Side effects คือผลข้างเคียงของยา เช่นกินยาลดน้ำมูกจะมีอาการปากแห้งใจสั่น นอนไม่หลับ กินยาแก้หอบหืดจะมีอาการมือสั่นใจสั่น กินยาแก้ปวดจะมีอาการปวดท้อง
ท่านสามารถอ่านผลข้างเคียงได้จากสลากยาที่กำกับ อาการข้างเคียงไม่จำเป็นต้องเกิดกับทุกคนที่กินยา อาจจะเกิดกับบางคนเท่านั้น
Drug interactions
ท่านหากรับประทานยามากกว่าหนึ่งชนิดท่านต้องทราบว่ายาสองชนิดมีปฏิกิริยาส่งเสริมหรือหักล้างกันหรือไม่ทั้งในแง่ของการรักษาและผลข้างเคียงของยา
เช่นรับประทานยาชนิดหนึ่งและเมื่อได้ยาอีกชนิดหนึ่งซึ่งอาจจะส่งผลให้ยานั้นออกฤทธิ์หรือผลข้างเคียงมากขึ้นและอาจจะเป็นอันตรายแก่ผู้ใช้ยา
Idiosyncratic reactions เป็นปฏิกิริยาที่เกิดโดยคาดการณ์ไม่ได้ว่าจะเกิดอาการภูมิแพ้หรือไม่
โปรดจำไว้ว่าหากท่านจะรับประทานยาหรือสมุนไพรท่านต้องคำนึงถึงการแพ้ยาทั้งที่เกิดจากปฏิกิริยาภูมิแพ้และจากอย่างอื่น นอกจากนั้นท่านที่รับประทานยามากกว่า
สองชนิดต้องระวังว่าอาจจะเกิดผลเสียแก่ตัวท่าน
การเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้
เมื่อร่างกายได้รับสารชนิดหนึ่งเข้าสู่ร่างกาย ทางผิวหนัง ทางรับประทาน ทางลมหายใจ หรือจากการฉีดยา หากร่งกายรับสารนั้นได้ก็ไม่เกิดผลเสียต่อร่างกาย
แต่หากสารนั้นเป็นสารที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ก็จะทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย อาจจะรุ่นแรงมากจนทำให้เกิดเสียชีวิตกระทันหัน เรียกว่ายังไม่ได้ถอนเข็มก็เกิดอาการแล้ว
หรือบางกรณีอาจจะเกิดปฏิกิริยาภูมิมาในภายหลังโดยที่ตัวคนไข้ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าไปรับสารใดมาบ้าง
ความรุนแรงและความรวดเร็วของการเกิดภูมแพ้ขึ้นชนิดของภูมิแพ้ซึ่งแบ่งออกเป็น
IgE - Mediated Reaction
เมื่อร่างกายได้รับสารภูมิแพ้ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันชนิด IgE ขึ้นเพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอม
IgE จะจับกับโปรตีนของสารภูมแพ้และเกาะกับผิวของเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เรียกว่า Mast cell
หลังจากนั้นจะเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ตามมาทำให้เกิดการหลังของสารเคมอีกหลายชนิด histamine heparin Protease Eosinophil chemotactic factor Neutrophil chemotactic
factor ,Leucotriene ,prostaglandin
สารต่างๆเหล่านี้จะทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมแพ้เฉียบพลันที่เรียกว่า Anaphylaxis ซึ่งมีอาการดังต่อไปนี้
ลมพิษ
ความดันโลหิตต่ำ
คัน
Angioedema
ตัวอย่างสารที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ชนิดนี้
ยาโดยเฉพาะกลุ่ม pennicillin
การให้เลือด
วัคซีน
ฮอร์โมน
Cytotoxic/Cytolytic Reaction
ร่างกายจะสร้างภูมิชนิด IgG,iGm ,Complement มาจับกับโปรตีนของสารก่อภูมิแพ้ทำให้มีการทำลายของเซลล์โดยเฉพาะเซลล์ของเม็ดเลือดทำให้เกิด การแตกของเม็ดเลือดแดง(
Immune hemolytic anemia) เกล็ดเลือดต่ำ(Thromobocytopenia) เม็ดเลือดขาวต่ำ (Granulocytopenia) ตัวอย่างยาที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาชนิดนี้
pennicillin
quinidine
sulfonamide
methyldopa
Immune Complex Reaction
ภูมิของร่างกายจะรวมกับโปรตีนของสารภูมิแพ้เกิดสารที่เรียกว่า immune complex ซึ่งจะไหลเวียนไปในกระแสเลือด เมื่อimmune complex
นี้ไปเกาะที่เส้นเลือดก็จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาดังนี้
เกร็ดเลือดจะมาเกาะรวมกลุ่ม plattlet aggregation
มีการกระตุ้นเซลล์ Mast cell activation
มีการกระตุ้น ทำให้เกิด การรั่วของผนังหลอดเลือด{permiability} การหลั่งสารที่ทำให้เกิดการอักเสบ(ทำให้เกิดปวด บวม แดง ร้อน)
อาการของภูมิแพ้ชนิดนี้ได้แก่
ไข้
ผื่นที่ผิวหนัง
ต่อมน้ำเหลืองโต
ปวดข้อ
ไตอักเสบ
ตับอักเสบ
ยาที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ชนิดนี้ได้แก่
hydralazine ยาลดความดันโลหิต
procanamide
isoniazid ยารักษาวัณโรค
phenyltoin ยากันชัก
T-cell Mediated Reaction
ปฏิกิริยาภูมิแพ้เกิดจากเซลลT-cell์ lymphocyte ถูกกระตุ้นเมื่อได้รับสารภูมิแพ้ อาการที่สำคัญของการเกิดภูมิแพ้ชนิดนี้คือพวกผื่นแพ้ที่เกิดจากการสัมผัส
แพ้ยาทำให้เกิดไข้
ท่านที่เป็นโรคติดเชื้อและซื้อยารับประทาน หลังจากรับประทานไประยะหนึ่งไข้ไม่ลง ซึ่งอาจจะเกิดจากแพ้ยาก็ได้ ยาที่เกิดอาจจะเป็นไข้ต่ำๆตลอด
หรือไข้สูงเป็นช่วงๆยาที่มักจะทำให้เกิดไข้คือยากลุ่มปฏิชีวนะ เมื่อหยุดยา 24-48 ชั่วโมงไข้ก็จะลงเอง
ยาที่ทำให้เกิดผลภูมิแพ้ที่ตับ
ปฏิกิริยาภูมิแพ้อาจจะทำให้เกิดการอักเสบของตับ โดยตับจะโตและเจ็บเมื่อเจาะเลือดตรวจจะพบว่ามีค่า SGOT,SGPT สูงและอาจจะมีดีซ่าน
ยาที่ทำให้เกิดตับอักเสบที่พบบ่อยได้แก่
phenotiazine
sulfonamide
halathane
phenyltoin
Isoniazid
ยาที่ทำให้เกิดโรคปอด
ผู้ป่วยที่ใช้ยาเป็นประจำเช่นยา nitrofurantoin sulfasalaxine นานๆอาจะทำให้เกิดโรคที่ปอด ทำให้เกิด ไข้ ไอ และมีผื่น เมื่อเจาะเลือดพบว่า eosinphil ในเลือดสูง
การรักษาให้หยุดยานั้นเสีย
การแพ้ยา penicillin
ยากลุ่ม penicillin เป็นยาที่แพ้ได้บ่อยที่สุด การเกิดภูมิแพ้ได้หลายแบบ IgE,Immune Complex,Cytotoxic เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับแพ้ยาpenicillin อาการแพ้มีได้หลายแบบ
ลมพิษ
คัน
ผื่นได้หลายๆแบบ
แพ้แบบรุนแรงได้แก่ หนังตา ปากบวมที่เรียกว่า angioedema กล่องเสียงบวม(laryngeal edema) หลอดลมเกร็ง()ความดันโลหิตต่ำ
บางรายผื่นเป็นมากทำให้เกิดลอกทั้งตัวที่เรียกว่า steven johnson syndrome
ในทางห้องทดลองพบว่าผู้ที่แพ้penicillin สามารถแพ้ยากลุ่ม cephalosporin ดังนั้นหากสามารกเลือกยากลุ่มอื่นได้น่าจะเป็นการปลอดภัย
การแพ้ยา cephalosporin ก็ไม่จำเป็นต้องแพ้ penicillin
penicillin เมื่อให้ในโรคต่อไปนี้จะทำให้เกิดผื่นได้ง่าย
ติดเชื้อไวรัสโดยเฉพาะ infectiuos mononucleosis
,มะเร็งเม็ดเลือดขาว
กรดยูริกในเลือดสูง
ให้ยาpenicillin ร่วมกับ allopurinol
แพ้ยา sulfonamide (เรียกติดปากว่าซัลฟา)
ยา sulfonamide เป็นยาผสมในยาหลายชนิดได้แก่ ยาปฏิชีวนะ(bactrim) ยาแก้ปวด() ยาขับปัสสาวะ ยาลดน้ำตาลในเลือด
การแพ้ aspirin
อาการของผู้ที่แพ้ aspirin มีได้หลายรูปแบบ
ผื่นลมพิษ
angioedema หน้าหนังจาปากบวม
น้ำมูกไหล
หลอดลมเกร็งทำให้แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก หากเป็นมากอาจจะมีตัวเขียว ริมฝีปากเขียว
ความดันโลหิตต่ำ
ผู้ที่เป็นโรคหอบหืด หรือไซนัสอักเสบจะแพ้ได้ถึงร้อยละ30-40
การรักษาอาการแพ้ยา
สำหรับผู้ทีอาการแพ้เฉียบพลัน
ให้หยุดยานั้นทันที
หากมีอาการแพ้รุนแรงแบบ anaphylaxis ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายถึงกับชีวิต ต้องได้รับยา epinephrine
สำหรับผู้ที่มีผื่นลมพิษหรือ angioedema ให้ยาแก้แพ้รับประทาน
ให้ยา steroid ชนิดรับประทาน
สำหรับผู้ที่แพ้ไม่เฉียบพลัน
ให้หยุดยาที่สงสัย หลังหยุดยาผื่นอาจจะยังเกิดขึ้นต่อไปได้อีก
หากผื่นเป็นน้อยให้ยาแก้แพ้ชนิดเดียวก็น่าจะพอ
สำหรับผู้ที่มีผื่นมากและมีท่าจะเป็นมากขึ้นก็สามารถให้กิน steroid ชนิดกินระยะสั่นๆ
สำหรับผู้ที่มีการอักเสบของไต serum sickness ปวดข้อ อาจจะต้องให้ยา steroid และยาแก้แพ้รับประทาน