ผู้ป่วย SLE อาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้หลายประการ ได้แก่
1. การติดเชื้อ
พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุการตายที่สําคัญการติดเชื้อที่พบมักเป็นการติดเชื้อที่ ผิวหนัง ปอด ทางเดินอาหาร และทางเดินปัสสาวะ เชื้อที่พบบ่อยคือ เชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะ salmonella แต่เชื้อรา ไวรัส และ parasite ก็เกิดได้บ่อยขึ้น ระหว่างการติดเชื้อควรลดขนาด Corticosteroids ลง หรือให้ในขนาดเท่าที่จําเป็นจะควบคุมโรคได้ (แต่บางครั้งต้องควบคุมโรคติดเชื้อให้ได้ดีเสียก่อน ภาวะของโรค SLE เองจึงจะลดลง) สําหรับยากดภูมิคุ้มกัน ควรงดไปก่อนจนกว่าจะควบคุมการติดเชื้อได้
2. กระดูกตายจากการขาดเลือด(avascular necrosis of bone)
|
From : http://www.zimmer.co.uk/web/images/anatomy/hips/TraumaticArthritisHip1.jpg |
เกิดได้บ่อยในผู้ป่วย SLE มักเกี่ยวข้องกับการใช้ Corticosteroids เป็นเวลานานหรือขนาดสูง พบได้ร้อยละ 10-15 ในผู้ป่วยที่ได้ Corticosteroids นาน > 3 -4 ปี หรือพบในรายที่มี antiphospholipid antibodies การรักษาเป็นการรักษาตามอาการ กายภาพบําบัดและหรือผ่าตัดเปลี่ยนข้อ หากเป็นกับข้อที่รับนํ้าหนัก นอกจากนี้ต้องพยายามลดขนาดของ Corticosteroids ให้เหลือน้อยที่สุด หรือหยุด Corticosteroids หากเป็นไปได้
3. ภาวะความดันโลหิตสูง
มักเกิดจากไตอักเสบ หรือจากการได้รับ Corticosteroids ขนาดสูงเป็นเวลานาน ๆ จําเป็นต้องให้ยาลดความดันเพื่อควบคุมให้ดี มิฉะนั้นจะเป็นสาเหตุสําคัญอีกประการหนึ่งที่ทําให้เกิดไตวายมากขึ้น
4. ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่เกิดจากยาที่ใช้รักษา
โดยเฉพาะ Corticosteroids เช่น อาการนอนไม่หลับ กระวนกระวาย มือสั่น หรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการนอน เหล่านี้ให้การรักษาตามอาการก็เพียงพอ และพยายามลดขนาดของยาลงหากเป็นไปได้ ในรายที่มีอาการรุนแรงถึงขนาดมีอาการทางจิตให้ใช้ยาต้านโรคจิต (antipsychotic drug) ร่วมด้วย นอกจากนี้มีถ้าเกิดภาวะเบาหวานจาก Corticosteroids โปแตสเซี่ยมในเลือดตํ่า ตาเป็นต้อกระจก หรือกระดูกพรุน ก็ให้การรักษาไปตามปกติของแต่ละปัญหา
5. ภาวะ antiphospholipid syndrome
|
From : http://www.uspharmacist.com/CMSImagesContent/2008/1/0108AntiPhosFigure1.jpg |
เป็นภาวะที่เกิดจากการมี antiphospholipid antibody ในเลือด ทําให้เกิดเส้นเลือดอุดตันทั้งเส้นเลือดแดงและเส้นเลือดดําในอวัยวะต่าง ๆ การรักษาให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด โดยการให้ยา heparin ในระยะแรกประมาณ 2 สัปดาห์แล้วเปลี่ยนมาให้ยา warfarin โดยคุมให้ INR มีค่าประมาณ 3 เท่าของค่าปกติ อาจร่วมกับการให้Aspirinในขนาดตํ่า ระยะเวลาในการให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดยังไม่เป็นที่ตกลงว่าควรให้นานเท่าไร แต่ไม่ควรน้อยกว่า 6 เดือน ในรายที่เส้นเลือดอุดตันเกิดขึ้นในบริเวณที่อันตรายต่อชีวิตหรือเป็นเส้นเลือดใหญ่ แนะนํา ให้ยากันการแข็งตัวของเลือดไปตลอดชีวิต
เอกสารอ้างอิง
1. วิทยา ศรีมาดา.Evidence-base clinical practice guideline. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
2. วิลาสินี หิรัญพานิช, ปวิตรา พูลบุตร, อธิกา จารุโชติกมล, จันทร์ทิพย์ กาญจนศิลป์.เภสัชวิทยา2. มหาสารคาม: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2547.
3. สุรศักดิ์ นิลกานุวงศ์, สุรวุฒิ ปรีชานนท์.ตำราโรคข้อ เล่มที่หนึ่ง.พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพมหานคร: เอส พี เอ็น การพิมพ์ จำกัด, 2544